วันเสาร์ที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2555

100 ปี บิดาวิทยาการคอมพิวเตอร์

ครบรอบ 100 ปีบิดาวิทยาการคอมพิวเตอร์  Alan Turing 

    ...สวัสดีครับคุณผู้อ่านประจำบล็อกแม็กทุกท่าน หลังจากห่างเหินอีกแล้ว ในวันนี้โอ๊ะๆๆ กดเข้า google แล้วพบว่ามันๆๆ อะเมซิ่งอีกแล้วที่ Google มีลูกเล่นขึ้นเพื่อรำลึกถึงบุคคลสำคัญกันอีกแล้วนะสิครับ ในวันนี้เป็นคิวของ 100 ปี แอลัน เมธิสัน ทัวริง ซึ่งเราไปทำความรู้จักเขากันเลยดีกว่าครับ 

ประวัติส่วนตัว 

แอลัน แมธิสัน ทัวริง  เกิดเมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2455 (ค.ศ. 1912) ที่ลอนดอน ประเทศอังกฤษ เป็นนักคณิตศาสตร์, นักตรรกศาสตร์, นักรหัสวิทยา และวีรบุรุษสงคราม ชาวอังกฤษ ป็นที่ยอมรับว่าเป็นบิดาของวิทยาการคอมพิวเตอร์ ซึ่งเป็นผู้สร้างรูปแบบอัลกอริทึมและการคำนวณ โดยใช้เครื่องจักรทัวริง อย่างเป็นทางการทางคณิตศาสตร์ หรือ บิดาของวิทยาการคอมพิวเตอร์
ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง แอลัน มีส่วนสำคัญในการแกะรหัสลับของฝ่ายเยอรมัน โดยเขาเป็นหัวหน้าของกลุ่ม Hut 8 ที่ทำหน้าที่ในการแกะรหัสของเครื่องอีนิกมาที่ใช้ในฝ่ายทหารเรือ หลังจากสงครามโลก เขาได้ออกแบบเครื่องคอมพิวเตอร์อิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถโปรแกรมได้เครื่อง แรกๆ ของโลกที่ห้องปฏิบัติการฟิสิกส์แห่งชาติ และได้สร้างเครื่องคอมพิวเตอร์ขึ้นจริงๆ ที่มหาวิทยาลัยแมนเชสเตอร์

ผลงานเด่นๆในช่วงชีวิตของ แอลัน 
      - การคิดโมเดลที่สามารถทำได้เทียบเท่ากับคอมพิวเตอร์ (อาจมีความเร็วที่ต่ำกว่า )
        ใช้คำสั่งพื้นฐานง่ายๆ เดินหน้า ถอยหลัง เขียน และลบเลขเท่านั้น
      - ได้รับรางวัล เจ้าหน้าที่ของจักรวรรดิอังกฤษ Fellow ของ Royal Society

เหตุการณ์สุดท้ายของเขา
 เมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 1954 แม่บ้านได้พบว่า Turing ตายแล้ว ซึ่งจากการชันสูตรพลิกศพาพบว่าเขา
 ได้ตายวันก่อนหน้านี้แล้ว คือ วันที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2497 โดยสาเหตุของการตาย คือ ร่างกายได้รับพิษไซยาไนด์ และการพิจารณาคดีระบุว่าเขาได้ฆ่าตัวตาย โดยอายุ 41 ปี ร่างของทัวริงก็ถูกพบโดยพนักงานทำความสะอาด ในสภาพมีแอปเปิลครึ่งลูกหล่นอยู่ข้างๆ และมีร่องรอยการทำการทดลองทางเคมีอยู่ใกล้ๆ ในที่สุดเมื่อวันที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2552 หลังจากการรณรงค์ทางอินเทอร์เน็ต กอร์ดอน บราวน์นายกรัฐมนตรีแห่งสหราชอาณาจักรก็ทำการขอโทษอย่างเป็นทางการในนามของ รัฐบาลบริติชต่อวิธีอันไม่ถูกต้องที่รัฐบาลปฏิบัติต่อทัวริงหลังสงคราม


ประวัติ Alan Turing By.MAG จาก Youtube



เขียนบล็อกโดย O นายแม็กกี้ O 
ขอบคุณ Youtube สำหรับพื้นที่คลิปวิดีโอ และ Wikipedia สำหรับข้อมูล [ Link ]

แสดงความคิดเห็นบนบล็อกนายร็อกกี้ ผ่าน FB