วันจันทร์ที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

B084 Hand Foot Mouse disease (โรค มือ เท้า ปาก)

B084 Hand Foot Mouse disease (โรค มือ เท้า ปาก)

      สวัสดีครับคุณผู้อ่านประจำบล็อกแม็ก กลับมาพบกับแม็กกันอีกแล้วปลายเดือนกรกฎาคมนี้ วันนี้แม็กก็มีสาระสุขภาพมาฝากกัน วันนี้แม็กขอนำเสนอโรคมือ เท้า ปาก ที่กำลังเป็นข่าวฮิตอยู่ในขณะนี้ และตามสถานพยาบาลต่างๆก็กำลังเฝ้าระวังอยู่นั่นเอง  แล้วเราจะมีวิธีการทราบโรคเหล่านี้ได้อย่างไรบ้าง และจะป้องกันตัวเองอย่างไรไปดูพร้อมๆกันๆเลยครับ ...

โรคมือเท้าปาก  Hand foot mouth Disease
 เป็นโรคที่มักพบการติดเชื้อในกลุ่มทารกและเด็กเล็ก แต่บางรายจะมีอาการรุนแรง ขึ้นอยู่กับชนิดของไวรัสที่มีการติดเชื้อส่วนใหญ่พบในเด็กอายุน้อยกว่า 10 ปี โดยเฉพาะอายุต่ำกว่า 5 ปี มีอาการไข้ร่วมกับตุ่มเล็กๆ เกิดขึ้นที่ผิวหนังบริเวณฝ่ามือ ฝ่าเท้า และในปาก ส่วนใหญ่อาการไม่รุนแรง หายได้เอง 

สาเหตุ
เกิดจากเชื้อไวรัสในกลุ่ม Enteroviruses ที่พบเฉพาะในมนุษย์ ซึ่งมีหลายสายพันธุ์ โรคปากเท้าเปื่อยส่วนใหญ่เกิดจาการติดเชื้อไวรัสที่ชื่อว่า coxsackie A16 (ส่วนใหญ่ประเทศไทยจะพบเชื้อนี้ มักไม่รุนแรง) เด็กจะหายเป็นปกติภายใน 7-10 วัน ส่วนที่เกิดจากEnterovirus 71 ส่วนใหญ่พบตามประเทศเพื่อนบ้านไม่ค่อยพบในประเทศไทยและมักแทรกซ้อนกับโรคอื่นมาก อาจเป็นแบบ เยื่อหุ้มสมองอักเสบ Aseptic meningitis ที่ไม่รุนแรง หรือมีอาการคล้ายโปลิโอ ส่วนที่รุนแรงมากจนอาจเสียชีวิตจะเป็นแบบสมองอักเสบ encephalitis ซึ่งมีอาการอักเสบส่วนก้านสมองทำให้หมดสติ หากเกิดกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบจะทำให้เกิดหัวใจวาย ความดันโลหิตจะต่ำ มีอาการหัวใจวาย และ/หรือมีภาวะน้ำท่วมปอด

อาการ 
    - ไข้  มีอาการไข้สูงอาจเกิน 39 องศาเซลเซียส 2 วันแล้วจะมีไข้ต่ำๆ ประมาณ 37.5 - 38.5 องศาเซลเซียส อีก 3-5 วัน 
    - เจ็บคอเจ็บในปากกลืนน้ำลายไม่ได้ ไม่กินอาหาร 
    - พบตุ่มแผลในปาก ส่วนใหญ่พบที่เพดานอ่อนลิ้น กระพุ้งแก้ม อาจมี 1 แผล หรือ 2-3 แผล ขนาด 4-8 มิลลิลิตร เป็นสาเหตุให้เด็กไม่ดูดนม ไม่กินอาหารเพราะเจ็บ 
   - ปวดศีรษะ 
   -  พบตุ่มพอง (vesicles) สีขาวขุ่นบนฐานรอบสีแดง ขนาด 3-7 มิลลิเมตร บริเวณด้านข้างของนิ้วมือ นิ้วเท้า บางครั้งพบที่ฝ่ามือ ฝ่าเท้า ส้นเท้า ส่วนมากมีจำนวน 5-6 ตุ่ม เวลากดจะเจ็บ ส่วนใหญ่ไม่ค่อยแตกเป็นแผล จะหายไปได้เองในเวลาประมาณ 1 สัปดาห์  
   - เบื่ออาหาร 
   - เด็กจะหงุดหงิด 
   - ในเด็กโตจะบ่นปวดศีรษะ ปวดหลัง อาจมีอาเจียน เจ็บคอ น้ำลายไหล จากนั้นจะพบตุ่มพองใส ขนาด 1-2 มิลลิเมตร 2 ข้างของบริเวณเหนือต่อมทอนซิล (anteriar fauces) ซึ่งอาจแตกเป็นแผล หลังจากระยะ 2-3 วันแรก แผลจะใหญ่ขึ้นเป็น 3-4 มิลลิเมตร จะเห็นเป็นสีขาวเหลืองอยู่บนฐานสีแดงโดยรอบ ทำให้มีอาการเจ็บคอหรือกลืนลำบากเวลาดูดนมหรือกินอาหาร เด็กจะมีอาการน้ำลายไหล ส่วนใหญ่จะหายได้เองภายใน 3-6 วัน ยังไม่เคยมีรายงานการเสียชีวิต   

 การติดต่อ
   - ติดต่อทางอุจจาระ  แผลของผู้ป่วย 
   - การไอ จาม ของผู้่ป่วย 

การป้องกัน 
  -  พยายามรักษาสุขอนามัยให้สะอาด ก่อนรับประทานก็ให้ล้างมือให้สะอาด เป็นต้น 

รหัสการวินิจฉัยโรค ( ICD-10 )
  ICD-10 ฉบับ WHO การวินิจฉัยโรคมือ เท้า ปากเปื่อย คือ B084 Hand,foot and Mouth disease
 



   เป็นอย่างไรกันบ้างครับกับสาระสุขภาพดีๆ ที่แม็กนำมาฝากให้กับคุณผู้อ่านได้ติดตามกันในวันนี้ สำหรับคุณผู้อ่านท่านใดที่มีข้อสงสัยอยากซักถามสามารถโพสต์ที่กล่อง comment ที่ท้ายบทความนี้ได้เลยครับ แล้วครั้งหน้าแม็กจะมีบทความอะไรมาฝากกันอีก ก็อย่าลืมติดตามกันนะครับ ^_^

เขียนบล็อกโดย นายแม็กกี้ 
ขอบคุณอ้างอิงข้อมูล ๑) [ Link ]
                               ๒) ข้อมูลรหัสการวินิจฉัยโรคจาก ICD-10 WHO 2010

วันศุกร์ที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

A90 โรคไข้เลือดออก ...ในหน้าฝน

(สาระสุขภาพ) A90 โรคไข้เลือดออก... ในหน้าฝน

         ช่วงนี้ก็เข้าสู่หน้าฝนกันเรียบร้อยแล้วนะครับ หลายๆพื้นที่ หลายๆจังหวัดคงประสบปัญหากับฝนตกหนัก ฝนตกไม่เป็นเวลากันบ้าง ก็เริ่มเซ็งๆกันไป ในวันนี้ครับแม็กเลยมีสาระสุขภาพในช่วงหน้าฝน มาฝากกันนั่นก็คือ โรคไข้เลือดออก มียุงลายเป็น พาหะันำโรคอย่างที่เราได้ทราบกันดี  และโรคนี้มีอาการอย่างไร

ที่จะทำให้เราสังเกตได้ และมีวิธีการป้องกันตัวเองอย่างไรไม่ให้เป็น "ไข้เลือดออก" ดังนี้ครับ
 
 การติดต่อของโรค
ติดต่อผ่านทางน้ำลายของยุงลายที่เป็นพาหะนำโรคไข้เลือดออก

อาการที่สำคัญ

     - ไข้สูงลอย ประมาณ 39-40°C นาน 2-7 วัน มักมีหน้าแดง ปวดหัว ปวดตา ปวดเมื่อยตามตัว
     - มีหลักฐานเลือดออกง่าย: จุดเลือดออก จ้ำเลือด อาเจียนเป็นเลือดหรือถ่ายดำ เลือดออกทางเยื่อบุ ทางเดินอาหาร ตำแหน่งที่ฉีดยา หรืออื่นๆ
      - ตรวจพบเกร็ดเลือด < 100,000 รัดแขนพบจุดเลือดออก (Tourniquet test ≥10จุด/ตารางนิ้ว) ตับโต    
    - มีการรั่วซึมของพลาสมา: ความเข้มข้นเลือดสูงขึ้น ≥ 20% ระบบไหลเวียนเลือดล้มเหลวหรือช็อคมักจะเกิดช่วงไข้ลด โดยผู้ป่วยจะมีอาการกระสับกระส่าย มือเท้าเย็น รอบปากสีเขียว ชีพจรเบาเร็ว ความดันต่ำ

หากพบว่ามีผู้ป่วย หรือคนรอบข้างมีอาการดังกล่าว ควรปฏิบัติดังต่อไปนี้
    

    - ให้ผู้ป่วยพักผ่อนในที่ๆ มีอากาศถ่ายเทสะดวก
    - เช็ดตัวด้วยน้ำธรรมดาหรือน้ำอุ่นบ่อยๆ โดยใช้ผ้าชุบน้ำแล้วบิดพอหมาดลูบเบาๆ บริเวณหน้า ลำตัวแขนและขา แล้วพักไว้บริเวณหน้าผาก ซอกคอ รักแร้ แผ่นอก แผ่นหลังและขาหนีบ สลับกันไปมา ทำติดต่อกันอย่างน้อยนาน 15 นาที แล้วให้ผู้ป่วยสวมเสื้อผ้าบางๆ นอนพักผ่อน
     - ให้รับประทานยาลดไข้ พาราเซตามอล เวลามีไข้สูงหรือปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตามตัว โดยให้ห่างกันอย่างน้อย 6 ชั่วโมง ห้ามรับประทานยาลดไข้ชนิดอื่น โดยเฉพาะยาแอสไพริน ยาซองลดไข้ทุกชนิดหรือยาพวกไอบรูโพรเฟน เพราะอาจทำให้เลือดออกมากผิดปกติ หรือตับวายได้
     - ห้ามฉีดยาเข้ากล้ามและไม่รับประทานยาอื่นที่ไม่จำเป็น
     - ให้ผู้ป่วยดื่มน้ำเกลือแร่ (ORS) หรือน้ำผลไม้ใส่เกลือเล็กน้อย ถ้ามีคลื่นไส้อาเจียนไม่สามารถดื่มได้ ให้จิบครั้งละน้อยๆ บ่อยๆ ไม่ควรดื่มแต่น้ำเปล่าอย่างเดียว
     - และถ้าอาการยังไม่ดีขึ้น ควรส่งผู้ัป่วยพบแพทย์เพื่อทำกา่รรักษาต่อไป

อาหาร
ควรเป็นอาหารอ่อนย่อยง่าย รสไม่จัด เช่น นม ไอศรีม ข้าวต้ม เป็นต้น

การป้องกันตนเองจากไข้เลือดออก 
  - ทำการสำรวจภาชนะที่ไม่ได้ใช้งานว่ามีน้ำขังอยู่หรือไม่ หากมีให้ทำการคว่ำภาชนะนั้น เพื่อกำจัดแหล่งเพาะพันธ์ยุงลาย 
  - ใส่ทรายอะเบทตามร่องระบายน้ำ หรือ ใส่ปลาหางนกยูงที่บ่อน้ำ เพื่อกำจัดลูกน้ำยุงลาย
  -  ไม่ตากฝนเป็นเวลานานๆ เพื่อป้องกันไม่ให้ตัวเองไข้สูง และทำการสำรวจสุขภาพตนเอง หากมีอาการไข้สูงมากกว่า 4 -5 วันควร พบแพทย์ โดยสันนิษฐานว่าอาจเป็นไข้เลือดออกก็ได้

    เป็นอย่างไรกันบ้างครับกับสาระสุขภาพที่แม็กนำมาฝากคุณผู้อ่านกันในวันนี้ อย่างไรก็ดีควรป้องกันตัวเองไว้ดีที่สุดครับ เพราะช่วงนี้จะเห็นได้ว่า โรงพยาบาลส่วนใหญ่จะมีผู้ป่วยไข้เลือดออกกันพอสมควร ก็อยากจะให้ทุกท่านดูแลสุขภาพกันด้วยนะครับ
            ..ด้วยความปราถนาดีจาก  นายแม็กกี้ จพ.เวชสถิติ รุ่นที่ 36 รพร.นครไทย 

รหัสการวินิจฉัยโรคไข้เลือดออก 

      จากชื่อ"บทความวันนี้ A90 โรคไข้เลือดออก ...ในหน้าฝน" หลายคนคงสงสัยว่า A90 คืออะไรใช่ไหมครับ?? แม็กก็เลยจะมาขอไขความกระจ่างให้ได้ทราบกัน?? 
ตอบ นั่นก็คือรหัสโรคของโรคไข้เลือดออก เพราะแม็กเป็นเวชสถิติ ซึ่งมีหน้าที่ในการให้รหัสโรคตามที่แพทย์วินิจฉัยนั่นเอง และสำหรับ A90 ก็คือ Dengue Fever (หรือโรคไข้เดงกี่ หรือ ไข้เลือดออกธรรมดานั่นเอง) และสำหรับ A91 Dengue Hemorrhagic Fever (DHF) คือโรคไข้เลือดออกชนิดที่อาจจะมีความรุนแรงขึ้นมาอีกระดับหนึ่งจาก A90 ขึ้นมาได้นั่นคือ ผู้ป่วยอาจจะมีอาการช็อก หรือเลือดออกนั่นเอง 


เขียนบล็อกโดย O นายแม็กกี้ O
ขอบคุณ ข้อมูลจาก [Link]

วันศุกร์ที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

Congratulation 2555 บัณฑิตจบใหม่ อนุปริญญา

      ......... สวัสดีครับแฟนๆผู้ติดตามบล็อกแม็กทุกคน ช่วงนี้ก็เช่นเคยค่อยมีอะไรจะมาอัพเดตบล็อกเท่าไหร่ เป็นบล็อกที่อัพเดตตามใจแม็กตลอดก็ อิอิ แต่ก็จะพยายามหาสิ่งดีๆ มาเล่าสู่กันฟังกันนะครับ
และสำหรับวันนี้แม็กก็นำภาพประทับใจที่สุดของแม็กมาฝากคุณผู้อ่านกันนั่นคือ แม็กจบการศึกษาแล้วครับในระดับอนุปริญญา
    ซึ่งเพิ่งผ่านพ้นการเข้าพิธีรับพระราชทานปริญญาบัตรและประกาศนียบัตร ณ สวนอัมพร เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2555 ที่ผ่านมานี่เอง ซึ่งนั่นก็เป็นความภูมิใจแม็กอย่างหนึ่งที่อย่างน้อย ได้เข้าเฝ้าเพื่อรับพระราชทานใบประกาศนียบัตรมานั่นเอง แม็กก็มีภาพมาฝากคุณผู้อ่านกันด้วย
     สำหรับคุณผู้อ่านที่เข้ามาใหม่ หรือ หลายท่านอาจยังไม่ทราบว่าแม็กจบอะไร ยังไง แม็กก็จะเล่าพอสังเขปนะครับ

ประวัติส่วนตัวบัณฑิตจบใหม่
    แม็ก ชื่อ นายธเนศวร  ค่ายเทศ
    จบการศึกษาระดับอนุปริญญา (ปวส) จากสถาบันการศึกษา
    วิทยาลัยเทคโนโลยีทางการแพทย์และสาธารณสุข กาญจนาภิเษก หลักสูตร เวชระเบียน
    ปัจจุบันทำงานอยู่ที่ รพ.สมเด็จพระยุพราชนครไ่ทย อ.นครไทย จ.พิษณุโลก 
    ตำแหน่งการทำงาน เจ้าพนักงานเวชสถิติ (ลูกจ้างชั่วคราวนักเรียนทุน)
    อัตราเงินเดือน  8,285 บาท เริ่มปฏิบัติงานวันที่ 3 เมษายน 2555
  
บางส่วนของภาพจากทั้งหมด
















วิดีโอบางส่วนจากข่าวพระราชสำนัก By.youtube


ขอขอบคุณ Youtube ที่เอื้อเฟื้อพื้นที่ความบันเทิง  


เขียนบล็อกโดย O นายแม็กกี้ O

แสดงความคิดเห็นบนบล็อกนายร็อกกี้ ผ่าน FB