(สาระสุขภาพ) A90 โรคไข้เลือดออก... ในหน้าฝน
ช่วงนี้ก็เข้าสู่หน้าฝนกันเรียบร้อยแล้วนะครับ หลายๆพื้นที่ หลายๆจังหวัดคงประสบปัญหากับฝนตกหนัก ฝนตกไม่เป็นเวลากันบ้าง ก็เริ่มเซ็งๆกันไป ในวันนี้ครับแม็กเลยมีสาระสุขภาพในช่วงหน้าฝน มาฝากกันนั่นก็คือ โรคไข้เลือดออก มียุงลายเป็น พาหะันำโรคอย่างที่เราได้ทราบกันดี และโรคนี้มีอาการอย่างไร
ที่จะทำให้เราสังเกตได้ และมีวิธีการป้องกันตัวเองอย่างไรไม่ให้เป็น "ไข้เลือดออก" ดังนี้ครับ
การติดต่อของโรค
ติดต่อผ่านทางน้ำลายของยุงลายที่เป็นพาหะนำโรคไข้เลือดออก
อาการที่สำคัญ
- ไข้สูงลอย ประมาณ 39-40°C นาน 2-7 วัน มักมีหน้าแดง ปวดหัว ปวดตา ปวดเมื่อยตามตัว
- ไข้สูงลอย ประมาณ 39-40°C นาน 2-7 วัน มักมีหน้าแดง ปวดหัว ปวดตา ปวดเมื่อยตามตัว
- มีหลักฐานเลือดออกง่าย: จุดเลือดออก จ้ำเลือด
อาเจียนเป็นเลือดหรือถ่ายดำ เลือดออกทางเยื่อบุ ทางเดินอาหาร
ตำแหน่งที่ฉีดยา หรืออื่นๆ
- ตรวจพบเกร็ดเลือด < 100,000 รัดแขนพบจุดเลือดออก (Tourniquet test ≥10จุด/ตารางนิ้ว) ตับโต
- มีการรั่วซึมของพลาสมา: ความเข้มข้นเลือดสูงขึ้น ≥ 20%
ระบบไหลเวียนเลือดล้มเหลวหรือช็อคมักจะเกิดช่วงไข้ลด
โดยผู้ป่วยจะมีอาการกระสับกระส่าย มือเท้าเย็น รอบปากสีเขียว ชีพจรเบาเร็ว
ความดันต่ำ
หากพบว่ามีผู้ป่วย หรือคนรอบข้างมีอาการดังกล่าว ควรปฏิบัติดังต่อไปนี้
- ให้ผู้ป่วยพักผ่อนในที่ๆ มีอากาศถ่ายเทสะดวก
- เช็ดตัวด้วยน้ำธรรมดาหรือน้ำอุ่นบ่อยๆ
โดยใช้ผ้าชุบน้ำแล้วบิดพอหมาดลูบเบาๆ บริเวณหน้า ลำตัวแขนและขา
แล้วพักไว้บริเวณหน้าผาก ซอกคอ รักแร้ แผ่นอก แผ่นหลังและขาหนีบ
สลับกันไปมา ทำติดต่อกันอย่างน้อยนาน 15 นาที
แล้วให้ผู้ป่วยสวมเสื้อผ้าบางๆ นอนพักผ่อน
- ให้รับประทานยาลดไข้ พาราเซตามอล
เวลามีไข้สูงหรือปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตามตัว โดยให้ห่างกันอย่างน้อย 6
ชั่วโมง ห้ามรับประทานยาลดไข้ชนิดอื่น โดยเฉพาะยาแอสไพริน
ยาซองลดไข้ทุกชนิดหรือยาพวกไอบรูโพรเฟน เพราะอาจทำให้เลือดออกมากผิดปกติ
หรือตับวายได้
- ห้ามฉีดยาเข้ากล้ามและไม่รับประทานยาอื่นที่ไม่จำเป็น
- ให้ผู้ป่วยดื่มน้ำเกลือแร่ (ORS) หรือน้ำผลไม้ใส่เกลือเล็กน้อย ถ้ามีคลื่นไส้อาเจียนไม่สามารถดื่มได้ ให้จิบครั้งละน้อยๆ บ่อยๆ ไม่ควรดื่มแต่น้ำเปล่าอย่างเดียว
- ให้ผู้ป่วยดื่มน้ำเกลือแร่ (ORS) หรือน้ำผลไม้ใส่เกลือเล็กน้อย ถ้ามีคลื่นไส้อาเจียนไม่สามารถดื่มได้ ให้จิบครั้งละน้อยๆ บ่อยๆ ไม่ควรดื่มแต่น้ำเปล่าอย่างเดียว
- และถ้าอาการยังไม่ดีขึ้น ควรส่งผู้ัป่วยพบแพทย์เพื่อทำกา่รรักษาต่อไป
อาหาร ควรเป็นอาหารอ่อนย่อยง่าย รสไม่จัด เช่น นม ไอศรีม ข้าวต้ม เป็นต้น
อาหาร ควรเป็นอาหารอ่อนย่อยง่าย รสไม่จัด เช่น นม ไอศรีม ข้าวต้ม เป็นต้น
การป้องกันตนเองจากไข้เลือดออก
- ทำการสำรวจภาชนะที่ไม่ได้ใช้งานว่ามีน้ำขังอยู่หรือไม่ หากมีให้ทำการคว่ำภาชนะนั้น เพื่อกำจัดแหล่งเพาะพันธ์ยุงลาย
- ใส่ทรายอะเบทตามร่องระบายน้ำ หรือ ใส่ปลาหางนกยูงที่บ่อน้ำ เพื่อกำจัดลูกน้ำยุงลาย
- ไม่ตากฝนเป็นเวลานานๆ เพื่อป้องกันไม่ให้ตัวเองไข้สูง และทำการสำรวจสุขภาพตนเอง หากมีอาการไข้สูงมากกว่า 4 -5 วันควร พบแพทย์ โดยสันนิษฐานว่าอาจเป็นไข้เลือดออกก็ได้
เป็นอย่างไรกันบ้างครับกับสาระสุขภาพที่แม็กนำมาฝากคุณผู้อ่านกันในวันนี้ อย่างไรก็ดีควรป้องกันตัวเองไว้ดีที่สุดครับ เพราะช่วงนี้จะเห็นได้ว่า โรงพยาบาลส่วนใหญ่จะมีผู้ป่วยไข้เลือดออกกันพอสมควร ก็อยากจะให้ทุกท่านดูแลสุขภาพกันด้วยนะครับ
..ด้วยความปราถนาดีจาก นายแม็กกี้ จพ.เวชสถิติ รุ่นที่ 36 รพร.นครไทย
จากชื่อ"บทความวันนี้ A90 โรคไข้เลือดออก ...ในหน้าฝน" หลายคนคงสงสัยว่า A90 คืออะไรใช่ไหมครับ?? แม็กก็เลยจะมาขอไขความกระจ่างให้ได้ทราบกัน??
ตอบ นั่นก็คือรหัสโรคของโรคไข้เลือดออก เพราะแม็กเป็นเวชสถิติ ซึ่งมีหน้าที่ในการให้รหัสโรคตามที่แพทย์วินิจฉัยนั่นเอง และสำหรับ A90 ก็คือ Dengue Fever (หรือโรคไข้เดงกี่ หรือ ไข้เลือดออกธรรมดานั่นเอง) และสำหรับ A91 Dengue Hemorrhagic Fever (DHF) คือโรคไข้เลือดออกชนิดที่อาจจะมีความรุนแรงขึ้นมาอีกระดับหนึ่งจาก A90 ขึ้นมาได้นั่นคือ ผู้ป่วยอาจจะมีอาการช็อก หรือเลือดออกนั่นเอง
เขียนบล็อกโดย O นายแม็กกี้ O
ขอบคุณ ข้อมูลจาก [Link]