วันจันทร์ที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

B084 Hand Foot Mouse disease (โรค มือ เท้า ปาก)

B084 Hand Foot Mouse disease (โรค มือ เท้า ปาก)

      สวัสดีครับคุณผู้อ่านประจำบล็อกแม็ก กลับมาพบกับแม็กกันอีกแล้วปลายเดือนกรกฎาคมนี้ วันนี้แม็กก็มีสาระสุขภาพมาฝากกัน วันนี้แม็กขอนำเสนอโรคมือ เท้า ปาก ที่กำลังเป็นข่าวฮิตอยู่ในขณะนี้ และตามสถานพยาบาลต่างๆก็กำลังเฝ้าระวังอยู่นั่นเอง  แล้วเราจะมีวิธีการทราบโรคเหล่านี้ได้อย่างไรบ้าง และจะป้องกันตัวเองอย่างไรไปดูพร้อมๆกันๆเลยครับ ...

โรคมือเท้าปาก  Hand foot mouth Disease
 เป็นโรคที่มักพบการติดเชื้อในกลุ่มทารกและเด็กเล็ก แต่บางรายจะมีอาการรุนแรง ขึ้นอยู่กับชนิดของไวรัสที่มีการติดเชื้อส่วนใหญ่พบในเด็กอายุน้อยกว่า 10 ปี โดยเฉพาะอายุต่ำกว่า 5 ปี มีอาการไข้ร่วมกับตุ่มเล็กๆ เกิดขึ้นที่ผิวหนังบริเวณฝ่ามือ ฝ่าเท้า และในปาก ส่วนใหญ่อาการไม่รุนแรง หายได้เอง 

สาเหตุ
เกิดจากเชื้อไวรัสในกลุ่ม Enteroviruses ที่พบเฉพาะในมนุษย์ ซึ่งมีหลายสายพันธุ์ โรคปากเท้าเปื่อยส่วนใหญ่เกิดจาการติดเชื้อไวรัสที่ชื่อว่า coxsackie A16 (ส่วนใหญ่ประเทศไทยจะพบเชื้อนี้ มักไม่รุนแรง) เด็กจะหายเป็นปกติภายใน 7-10 วัน ส่วนที่เกิดจากEnterovirus 71 ส่วนใหญ่พบตามประเทศเพื่อนบ้านไม่ค่อยพบในประเทศไทยและมักแทรกซ้อนกับโรคอื่นมาก อาจเป็นแบบ เยื่อหุ้มสมองอักเสบ Aseptic meningitis ที่ไม่รุนแรง หรือมีอาการคล้ายโปลิโอ ส่วนที่รุนแรงมากจนอาจเสียชีวิตจะเป็นแบบสมองอักเสบ encephalitis ซึ่งมีอาการอักเสบส่วนก้านสมองทำให้หมดสติ หากเกิดกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบจะทำให้เกิดหัวใจวาย ความดันโลหิตจะต่ำ มีอาการหัวใจวาย และ/หรือมีภาวะน้ำท่วมปอด

อาการ 
    - ไข้  มีอาการไข้สูงอาจเกิน 39 องศาเซลเซียส 2 วันแล้วจะมีไข้ต่ำๆ ประมาณ 37.5 - 38.5 องศาเซลเซียส อีก 3-5 วัน 
    - เจ็บคอเจ็บในปากกลืนน้ำลายไม่ได้ ไม่กินอาหาร 
    - พบตุ่มแผลในปาก ส่วนใหญ่พบที่เพดานอ่อนลิ้น กระพุ้งแก้ม อาจมี 1 แผล หรือ 2-3 แผล ขนาด 4-8 มิลลิลิตร เป็นสาเหตุให้เด็กไม่ดูดนม ไม่กินอาหารเพราะเจ็บ 
   - ปวดศีรษะ 
   -  พบตุ่มพอง (vesicles) สีขาวขุ่นบนฐานรอบสีแดง ขนาด 3-7 มิลลิเมตร บริเวณด้านข้างของนิ้วมือ นิ้วเท้า บางครั้งพบที่ฝ่ามือ ฝ่าเท้า ส้นเท้า ส่วนมากมีจำนวน 5-6 ตุ่ม เวลากดจะเจ็บ ส่วนใหญ่ไม่ค่อยแตกเป็นแผล จะหายไปได้เองในเวลาประมาณ 1 สัปดาห์  
   - เบื่ออาหาร 
   - เด็กจะหงุดหงิด 
   - ในเด็กโตจะบ่นปวดศีรษะ ปวดหลัง อาจมีอาเจียน เจ็บคอ น้ำลายไหล จากนั้นจะพบตุ่มพองใส ขนาด 1-2 มิลลิเมตร 2 ข้างของบริเวณเหนือต่อมทอนซิล (anteriar fauces) ซึ่งอาจแตกเป็นแผล หลังจากระยะ 2-3 วันแรก แผลจะใหญ่ขึ้นเป็น 3-4 มิลลิเมตร จะเห็นเป็นสีขาวเหลืองอยู่บนฐานสีแดงโดยรอบ ทำให้มีอาการเจ็บคอหรือกลืนลำบากเวลาดูดนมหรือกินอาหาร เด็กจะมีอาการน้ำลายไหล ส่วนใหญ่จะหายได้เองภายใน 3-6 วัน ยังไม่เคยมีรายงานการเสียชีวิต   

 การติดต่อ
   - ติดต่อทางอุจจาระ  แผลของผู้ป่วย 
   - การไอ จาม ของผู้่ป่วย 

การป้องกัน 
  -  พยายามรักษาสุขอนามัยให้สะอาด ก่อนรับประทานก็ให้ล้างมือให้สะอาด เป็นต้น 

รหัสการวินิจฉัยโรค ( ICD-10 )
  ICD-10 ฉบับ WHO การวินิจฉัยโรคมือ เท้า ปากเปื่อย คือ B084 Hand,foot and Mouth disease
 



   เป็นอย่างไรกันบ้างครับกับสาระสุขภาพดีๆ ที่แม็กนำมาฝากให้กับคุณผู้อ่านได้ติดตามกันในวันนี้ สำหรับคุณผู้อ่านท่านใดที่มีข้อสงสัยอยากซักถามสามารถโพสต์ที่กล่อง comment ที่ท้ายบทความนี้ได้เลยครับ แล้วครั้งหน้าแม็กจะมีบทความอะไรมาฝากกันอีก ก็อย่าลืมติดตามกันนะครับ ^_^

เขียนบล็อกโดย นายแม็กกี้ 
ขอบคุณอ้างอิงข้อมูล ๑) [ Link ]
                               ๒) ข้อมูลรหัสการวินิจฉัยโรคจาก ICD-10 WHO 2010

แสดงความคิดเห็นบนบล็อกนายร็อกกี้ ผ่าน FB